IMG_7858

Exhibition of Historic Photographs Commemorates 160th Anniversary of Franco-Thai Diplomatic Relations, at Siam Paragon, 3 to 9 April 2017

IMG_7888

Exposition de photographies
« Les visites d’État, une diplomatie d’amitié »
3-9 April 2017, Siam Paragon

French Ambassador H.E. Mr. Gilles Garachon officially opened a historic photo exhibition « Les visites d’État, une diplomatie d’amitié » to commemorate 160th anniversary  of Franco-Thai diplomatic relations at Siam Paragon. The Exhibition is currently being held  at Crystal Court, M Floor of Siam Paragon, until Sunday 9, April,

นิทรรศการภาพถ่าย
“ประมุขเยือนมิตร เชื่อมไมตรีจิตการทูต”
3-9 เมษายน 2560

พณฯ ท่านเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย มร. จิลส์ การาชง เป็นประธานเปิดงานนิทรรศการภาพถ่าย “ประมุขเยือนมิตร เชื่อมไมตรีจิตรการทูต” เฉลิมฉลองครบรอบ 160  ปี ความสัมพันธ์ทางการทูต ฝรั่งเศส-ไทย ณ สยามพารากอน  เชิญชมนิทรรศการได้ที่ ลานคริสตัลคอร์ท ชั้น M ศูนย์การค้าสยามพารากอน  วันจันทร์ที่ 3 ถึงวันอาทิตย์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2560 เวลา 10.00 – 22.00 น.

IMG_7854

IMG_7863  

นิทรรศการภาพถ่าย
ประมุขเยือนมิตร เชื่อมไมตรีจิตการทูต

ประวัติความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสาธารณรัฐฝรั่งเศสกับราชอาณาจักรไทยสามารถย้อนกลับไปได้ถึงศตวรรษที่ 17 ซึ่งตรงกับสมัยกรุงศรีอยุธยา ในครั้งนั้น ทั้งสองประเทศเริ่มติดต่อกันอย่างเป็นทางการครั้งแรก คณะราชทูตจากสยามได้เดินทางไปเยือนฝรั่งเศสใน พ.ศ. 2227 และพ.ศ. 2229 โดยได้รับการต้อนรับจากพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 หรือ เลอรัว-โซแลย (le Roi-Soleil) ซึ่งหมายถึง  สุริยกษัตริย์ ที่พระราชวังแวร์ซายส์ ขณะเดียวกัน คณะราชทูตจากฝรั่งเศสหลายชุดก็ได้เดินทางมาเยือนราชสำนักสยามในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ชุดที่มีชื่อเสียงที่สุดนำโดยเชอวาลิเยร์ เดอ โชมงต์ (Chevalier de Chaumont)  ใน พ.ศ.2228

อย่างไรก็ตาม ทั้งสองประเทศได้เปิดความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการในพ.ศ.2399 มีการลงนามในสนธิสัญญาทางพระราชไมตรี พาณิชย์ และการเดินเรือระหว่างกัน เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2399 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและจักรพรรดินโปเลียนที่สาม สนธิสัญญาฉบับดังกล่าวรับรอง “ความสงบสุขถาวรและมิตรภาพอันยืนยง” ระหว่างสยามกับฝรั่งเศส

หลังจากนั้น เคานต์แห่งกัสแตลโน (Le comte de Castelnau) ได้รับแต่งตั้งเป็นกงสุลฝรั่งเศสประจำสยาม และเข้าประจำตำแหน่งที่กรุงเทพมหานคร ในอาคารหลังหนึ่งบนที่ดินของโรงภาษี ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานแก่รัฐบาลฝรั่งเศส อาคารดังกล่าวนับเป็นสถานกงสุลใหญ่ฝรั่งเศสแห่งแรก ต่อมาได้รับการยกฐานะเป็นสถานเอกอัครราชทูต ใน พ.ศ. 2492 และปัจจุบันเป็นทำเนียบเอกอัครราชทูต

IMG_7872

IMG_7889

ใน พ.ศ. 2404 สยามได้ส่งคณะราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศส เอกอัครราชทูตสามคนและคณะผู้ติดตามได้รับการต้อนรับจากจักรพรรดินโปเลียนที่สามและจักรพรรดินีเออเฌนี (Eugénie) เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2404 ที่พระราชวังฟงแตนโบล (Fontainebleau) ในครั้งนั้น ได้มีการอัญเชิญพระราชสาสน์ทองคำและเครื่องราชบรรณาการมาถวายแด่จักรพรรดิและจักรพรรดินีแห่งฝรั่งเศสด้วย

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระมหากษัตริย์สยามพระองค์แรกที่ได้เสด็จประพาสประเทศในทวีปยุโรป พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนฝรั่งเศสระหว่างการเสด็จประพาสยุโรปอย่างเป็นทางการครั้งแรกใน พ.ศ. 2440 ทรงได้รับการต้อนรับจากนายเฟลิกซ์ โฟร์ ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส หลังจากนั้นอีก 10 ปี ใน พ.ศ. 2450 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 เป็นการส่วนพระองค์ และได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนฝรั่งเศส ในครั้งนั้น ได้เสด็จฯ ไปยังโรงหล่อของพี่น้องตระกูลซุสเซอ (fonderie des frères Susse) ซึ่งเป็นผู้สร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบรมรูปทรงม้า ประดิษฐาน ณ ลานพระราชวังดุสิต ใน พ.ศ. 2451 เป็นอนุสาวรีย์แห่งแรกของไทยที่สร้างถวายแด่พระมหากษัตริย์

IMG_7875

IMG_7856

การแลกเปลี่ยนการเยือนอย่างเป็นทางการของประมุขแห่งราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐฝรั่งเศส ได้เริ่มขึ้นใน พ.ศ. 2503 เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินเยือนสาธารณรัฐฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 11-14 ตุลาคม พ.ศ. 2503 ทรงได้รับการต้อนรับจากนายพลชาร์ล เดอ โกล ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสและภริยา หลังจากนั้น นายฌาคส์ ชีรัค ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสและภริยา ได้เยือนราชอาณาจักรไทยอย่างเป็นทางการในฐานะพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ระหว่างวันที่ 17-19 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2549

IMG_7914

IMG_7917

ใน พ.ศ. 2560 นี้ ฝรั่งเศสและไทยเฉลิมฉลองการครบรอบ 160 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน เนื่องในโอกาสดังกล่าวและเพื่อถวายราชสดุดีแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชในฐานะพระมหากษัตริย์ผู้ทรงมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐฝรั่งเศส สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทยจึงจัดนิทรรศการภาพถ่ายภายใต้ชื่อ “ประมุขเยือนมิตร เชื่อมไมตรีจิตการทูต” โดยได้รับการสนับสนุนจากบริษัทชั้นนำของไทยและฝรั่งเศส ภายในงานมีการจัดแสดงภาพถ่ายตามลำดับเหตุการณ์ระหว่างการเสด็จพระราชดำเนินเยือนสาธารณรัฐฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ใน พ.ศ. 2503 และการเยือนราชอาณาจักรไทยอย่างเป็นทางการของนายฌาคส์ ชีรัค ประธานาธิบดีฝรั่งเศสและภริยา ในฐานะพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ใน พ.ศ. 2549 นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงภาพลายเส้นการเสด็จพระราชดำเนินเยือนฝรั่งเศสของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ใน พ.ศ. 2440 ที่นำมาจากเอกสารเก่าอันทรงคุณค่า ตลอดจนการจัดแสดง  วีดีทัศน์เกี่ยวกับประวัติและการอนุรักษ์พระราชสาสน์ทองคำ ภาพพระราชสาสน์ทองคำและสนธิสัญญาทางพระราชไมตรี พาณิชย์ และการเดินเรือที่ลงนามใน พ.ศ.2399 รวมทั้งภาพยนตร์บันทึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์

(ภาษาฝรั่งเศส ด้านล่าง)

IMG_7868

IMG_7883

IMG_7879

IMG_7870

IMG_7773

IMG_7774

IMG_7805

S__2473993

IMG_7818

IMG_7823

IMG_7829

IMG_7832

IMG_7775

IMG_7776

IMG_7763

IMG_7765

IMG_7766

IMG_7785

IMG_7821

IMG_7830

IMG_7834

S__2473991

IMG_7836

IMG_7839

S__2473989

S__2473987

IMG_7848

S__2482185

IMG_7844

Exposition de photographies
« Les visites d’État, une diplomatie d’amitié »

L’histoire des relations diplomatiques entre la France et la Thaïlande (Siam) peut remonter jusqu’au 17ème siècle à l’époque d’Ayutthaya lorsque sont noués leurs premiers contacts officiels : deux délégations diplomatiques siamoises se rendent en France en 1684 et 1686 et sont reçues à Versailles par le « Roi Soleil », Louis XIV. En retour, plusieurs ambassades françaises, dont la plus célèbre fut conduite en 1685 par le Chevalier de Chaumont, se rendent à la Cour du Roi Naraï.

Ce n’est cependant qu’en 1856 que les deux pays décident d’ouvrir des relations diplomatiques avec la signature, le 15 août 1856, d’un « traité d’amitié, de commerce et de navigation » entre Sa Majesté le Roi Rama IV et l’empereur Napoléon III. Ce traité garantit une « paix constante et amitié perpétuelle » entre le Siam et la France.

Le comte de Castelnau, nommé consul de France au Siam, s’installe alors à Bangkok dans un bâtiment sur le terrain des douanes, donné à la France par Sa Majesté le Roi Rama V, premier consulat de France, devenu ambassade en 1949 et actuelle résidence de l’ambassadeur.

En 1861, le Royaume de Siam a envoyé une délégation diplomatique en France. Trois ambassadeurs siamois et leur suite ont été reçus par l’empereur Napoléon III et l’impératrice Eugénie le 27 juin 1861 à Fontainebleau. A cette occasion, ils présentent une lettre d’or de Sa Majesté le Roi Rama IV et de nombreux présents.

Sa Majesté le Roi Chulalongkorn (Rama V) est le premier roi siamois à visiter, entre autres, les pays européens. Durant son voyage officiel en Europe en 1897, il s’est rendu en France, accueilli par le Président de la République française, M. Felix Faure. 10 ans plus tard, en 1907, Sa Majesté le Roi Chulalongkorn a fait une deuxième visite en Europe dont la France, privée cette fois. En France, il visita en particulier la fonderie des frères Susse qui réalisèrent sa statue équestre érigée en 1908 à Bangkok au milieu de la Place Royale dans le quartier de Dusit, premier monument public dédié à un roi en Thaïlande.

Le premier échange de visites d’État entre le Royaume de Thaïlande et la République française commença en 1960 avec la visite d’État en France de leurs Majestés le Roi Bhumibol Adulyadej (Rama IX) et la Reine Sirikit du 11 au 14 octobre 1960. Ils sont accueillis par le Général Charles de Gaulle, Président de la République française, et son épouse. En retour, M. Jacques Chirac, Président de la République française, et son épouse se rendent en visite d’État en Thaïlande du 17 au 19 février 2006 à l’invitation de leurs Majestés le Roi Bhumibol Adulyadej et la Reine Sirikit.

En cette année 2017, nous célébrons le 160ème anniversaire de l’établissement des relations diplomatiques entre la France et la Thaïlande. Pour cette occasion et pour rendre hommage à Sa Majesté le Roi Rama IX pour son attachement à la promotion de bonnes relations entre le Royaume de Thaïlande et la République française, l’Ambassade de France en Thaïlande a décidé d’organiser, avec le soutien de grandes entreprises thaïlandaises et françaises, une exposition de photographies sur le thème « Les visites d’État, une diplomatie d’amitié ».  Y sont présentées, dans l’ordre chronologique, des photographies prises lors de la visite d’État en France de leurs Majestés le Roi Rama IX et la Reine Sirikit en 1960 et lors de la visite d’État en Thaïlande de M. Jacques Chirac, Président de la République française, et son épouse en 2006. Y sont également exposés un recueil de dessins de Sa Majesté le Roi Rama V lors de sa visite en 1897 en France provenant de précieux et anciens documents ainsi qu’une vidéo de présentation de l’histoire et de la conservation de la lettre d’or, des reproductions numérisées de cette lettre et du Traité d’amitié, de commerce et de navigation signé en 1856 et des films d’archives de l’époque.

Related posts: