messageImage_1645562486255

Inauguration of Artwork on the Walls of French Embassy in Bangkok

9V2A9089

Inauguration of the artwork around the Walls of the Embassy of France in Thailand

At the initiative of H.E. Mr. Thierry Mathou, Ambassador of France to Thailand, who would like the walls of the Embassy of France in Bangkok to display the symbols of the long-lasting and friendly relations between France and Thailand with a participation of Thai youth, an art project on the Embassy of France’s walls was thus launched.

Started in September 2021, the project came to completion in February 2022. The teams of “Restaurateurs sans Frontières” under Mr. Robert Bougrain’s direction and in collaboration with students from Poh Chang Academy of Arts, created an original artwork composed of several paintings displayed on the Embassy’s external walls to illustrate the richness of the dialogue between France and Thailand. The description of the paintings was made by students from the French International School of Bangkok (Lycée Français International de Bangkok: LFIB). It can be read by scanning the QR code next to each painting.

9V2A9097

This project received help and support from many stakeholders, especially from some of the most important French companies operating in Thailand, such as Saint-Gobain or Dextra, which brought their French expertise to realize the project.

9V2A8969

ขอเชิญชมผลงานศิลปะรอบกำแพงสถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย

จากความคิดริเริ่มของนายตีแยรี มาตู เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย ที่จะให้กำแพงสถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศส ณ กรุงเทพมหานคร เป็นพื้นที่แสดงสัญลักษณ์ของความสัมพันธ์ฉันมิตรที่มีมาอย่างยาวนานระหว่างประเทศฝรั่งเศสกับประเทศไทย โดยการมีส่วนร่วมของเยาวชนไทย โครงการศิลปะบนกำแพงสถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสจึงเกิดขึ้น

messageImage_1645562472794

โครงการนี้เริ่มต้นขึ้นในเดือนกันยายน 2564 และแล้วเสร็จในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ซึ่งคณะทำงานขององค์กรอนุรักษ์ไร้พรมแดน (Restaurateurs sans Frontières) นำโดยนายโรแบร์ต บูแกร็ง (Robert Bougrain) ร่วมกับคณะนักศึกษาวิทยาลัยเพาะช่างได้รังสรรค์งานศิลปะต้นแบบอันประกอบไปด้วยภาพจิตรกรรมที่จัดแสดงรอบกำแพงด้านนอกของสถานเอกอัครราชทูตฯ เพื่อแสดงถึงความสัมพันธ์อันรุ่มรวยและหลากหลายระหว่างฝรั่งเศสกับไทย โดยคณะนักเรียนของโรงเรียนฝรั่งเศสนานาชาติ กรุงเทพ จัดทำคำอธิบายภาพซึ่งสามารถอ่านได้โดยการสแกน QR Code ที่อยู่ด้านข้างภาพจิตรกรรมแต่ละภาพ

9V2A9063

นอกจากนี้ โครงการดังกล่าวยังได้รับความช่วยเหลือและการสนับสนุนจากหลายฝ่าย รวมถึงภาคเอกชนฝรั่งเศสที่สำคัญบางส่วนที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย อาทิ บริษัทแซง-โกแบ็ง (Saint-Gobain) และ บริษัทเด็กซ์ตร้า (Dextra) ซึ่งได้นำความรู้ความชำนาญของฝรั่งเศสมาใช้เพื่อให้โครงการเกิดขึ้นเป็นรูปธรรม

9V2A9078

ทั้งนี้พิธีเปิดผลงานศิลปะรอบกำแพงสถานเอกอัครราชทูตฯ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2565 โดยมีนายตีแยรี มาตู เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย เป็นประธาน พร้อมด้วยคณะทำงานขององค์กรอนุรักษ์ไร้พรมแดน คณะนักศึกษาวิทยาลัยเพาะช่าง คณะนักเรียนของโรงเรียนฝรั่งเศสนานาชาติ กรุงเทพ ผู้สนับสนุน คณะทูตานุทูต สื่อมวลชนและแขกผู้มีเกียรติมาร่วมงาน

9V2A9028

ผู้สนใจสามารถเดินทางมาชมผลงานดังกล่าวได้ทุกวัน โดยสถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทยตั้งอยู่เลขที่ 35 ซอยเจริญกรุง 36 (ถนนแบรสต์) ถนนเจริญกรุง บางรัก กรุงเทพฯ (แผนที่ Google Map)

ส่วนหนึ่งของผลงานศิลปะที่จัดแสดงรอบกำแพงสถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย

messageImage_1645562463740

Réverbère โคมไฟถนน

ในอดีตโคมไฟถนนเป็นเพียงตะเกียงน้ำมันที่ประดิษฐ์ขึ้นในประเทศฝรั่งเศส พ.ศ. 2287 เพื่อส่องถนนสาธารณะแทนที่โคมไฟแบบเก่าซึ่งใช้เทียนจุด ช่วงต้นศตวรรษที่ 19 เริ่มมีการใช้แก๊ส ต่อมามีการใช้ไฟฟ้าอันเป็นนวัตกรรมที่สร้างจุดสิ้นสุดของอาชีพนักโคมไฟซึ่งเป็นหน่วยงานที่ เจ้าชายน้อย ของนักเขียน อองตวน เดอ แซงเต็กซูเปรีรู้สึกประหลาดใจที่ได้พบกับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานดังกล่าวบนดาวเคราะห์ดวงเล็ก ดังข้อความในหนังสือที่ว่า “มีที่ว่างเพียงพอสำหรับวางเสาตะเกียงและที่จุดตะเกียง แต่เจ้าชายน้อยไม่สามารถอธิบายให้ตัวเองฟังได้ว่า ณ ที่ใดที่หนึ่งบนท้องฟ้า บนดาวเคราะห์ดวงนี้ที่ไม่มีบ้านหรือประชากร เสาตะเกียงและที่จุดตะเกียงจะสามารถใช้ทำอะไรได้“ ส่วนในประเทศไทย รูปปั้นกินรี (จากวัดพระแก้ว)ได้รับเลือกให้อยู่บนโคมไฟถนนในบางพื้นที่

8.- Lascaux

L’art pariétal : à la rencontre des premiers « artistes » français et thaïlandais. Cave art: meeting the first French and Thai “artists” ศิลปะบนผนังถ้ำ : การพบกันของ « ศิลปิน »ไทยและฝรั่งเศสรุ่นแรก
(เรียบเรียงข้อมูลโดย Mina PRIEUR นักเรียนเกรด 9 ห้อง A)

ในประเทศฝรั่งเศสเช่นเดียวกับในประเทศไทย ภาพวาดบนผนังถ้ำในยุคก่อนประวัติศาสตร์มักจะเป็นภาพสัตว์ ราวกับเป็นการระลึกถึงความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างสังคมกับธรรมชาติที่รายล้อม ภาพวาดและการแกะสลักในถ้ำลาสโกซ์ (Lascaux) ในเขตดอร์ดอนญ์ (Dordogne) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของฝรั่งเศส มีอายุประมาณ 18,000 ปี ทำให้สถานที่พิเศษแห่งนี้ได้รับสมญานามว่าเป็น “พระราชวังแวร์ซาย แห่งยุคก่อนประวัติศาสตร์” บนผนังถ้ำแห่งนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นภาพของม้า วัวออโรช กระทิง กวาง และ แพะป่า นอกจากนี้ มีภาพสัตว์ที่ไม่ค่อยได้พบเห็นบ่อยนัก และเป็นสัตว์ที่ดุร้าย เช่น หมี แรด และเสือหรือสิงโต ภาพวาดบนผนังถ้ำในประเทศไทยทำให้เกิดวิวัฒนาการด้วยรูปลักษณ์ของมนุษย์ในอีก 15,000 ปีต่อมา พบภาพวาดบนหน้าผาด้านตะวันตกของเขาปลาร้า ในจังหวัดอุทัยธานี เชื่อกันว่ามีอายุประมาณ 3,000 ปี เป็นการวาดโดยใช้สีจากธรรมชาติเกิดเป็นภาพมนุษย์และสัตว์ต่างๆ อาทิ วัว ลิง หรือสุนัข นอกจากนี้ มีภาพวาดที่พบในถ้ำเขาจันทร์งาม ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองโคราช เชื่อกันว่าภาพมนุษย์ที่วาดด้วยสีแดงเหล่านี้ น่าจะเป็นผลงานของกลุ่มชุมชนชาวเกษตรที่มาอาศัยอยู่ในแถบนี้เมื่อ 3,000 หรือ 4,000 ปีก่อน

620F176A-F607-4BF6-9D60-F44126088ED6

La colonne Morris / The Morris column เสามอร์ริส

สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2411 โดยกาเบรียล มอร์ริส ช่างพิมพ์ที่ชำนาญด้านการประชาสัมพันธ์การแสดง เสามอร์ริสถือเป็นส่วนหนึ่งของภูมิทัศน์แบบปารีส มีลักษณะสีเขียว ด้านบนคลุมด้วยกันสาดหกเหลี่ยมทรงโดมเพื่อป้องกันโปสเตอร์จากน้ำฝน เงาร่างของโครงสร้างเหล็กทรงกระบอกปรากฏในภาพวาดยุคทอง (Belle Epoque) เสาหลายร้อยต้นถูกสร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2411 และ พ.ศ. 2443 โดยเฉพาะบนถนนกรองด์ บูเลอวาร์ด (Grands Boulevards) เพื่อประชาสัมพันธ์การแสดงที่จะจัดขึ้นในเมืองหลวง แบบจำลองเสามอร์ริสบนภาพนี้แสดงถึงโฆษณาการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ณ กรุงปารีส ในปี 2567 และภาพโปสเตอร์ การแสดง ภาพยนตร์ และนิทรรศการ โดยมีนัยยะให้นึกถึงประเทศไทย อาทิ สมาคมฝรั่งเศสประเทศไทย มวยไทย แกลเลอรี่ไนท์ซึ่งจัดที่ประเทศไทยโดยสถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศส

9.- March__s m__di__vaux

Les marchés du temps jadis: entre rues et canaux
Markets from past times: between streets and canals
ตลาดในอดีต : ตลาดบกและตลาดน้ำ
(เรียบเรียงข้อมูลโดย Elina FONG นักเรียนเกรด 8 ห้อง C) 

ตลาดเป็นสถานที่ที่สำคัญต่อชีวิตผู้คนในประเทศฝรั่งเศสเช่นเดียวกับในประเทศไทย นับตั้งแต่ยุคกลาง มีงานจัดแสดงสินค้าสำคัญๆ ตามเมืองต่างๆในภูมิภาค เช่น ที่แคว้นฌองปาญหรือแคว้นบรี มีการจำหน่ายแพรพรรณหลากสี ผ้าปูที่นอน และเครื่องปั้นดินเผา  รวมทั้งการค้าปศุสัตว์ซึ่งต้องเก็บไว้นอกกำแพงเมืองหลังจากเกิดโรคระบาดครั้งใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณจัตุรัสใจกลางเมืองจะคึกคักมากวันที่มีตลาด ในประเทศไทยเราเรียก marché ว่า ตลาด ซึ่งขยายไปตามแนวคลอง ตลาดเหล่านี้คือ ตลาดน้ำซึ่งพ่อค้าแม่ค้านำผลไม้ ดอกไม้ ผัก เนื้อสัตว์ และอาหารปรุงสำเร็จมาขายทางเรือ ปัจจุบันได้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวหลัก ด้วยเหตุนี้ นักท่องเที่ยวจึงแวะชมตลาดน้ำคลองแหทางภาคใต้ของประเทศไทยใกล้หาดใหญ่ ซึ่งถือเป็นตลาดน้ำแห่งแรกและแห่งเดียวในภูมิภาค

21.- Lyon Soie

Sur les traces de la route de la Soie / Following the Silk Routes
ตามรอยเส้นทางสายไหม (เรียบเรียงข้อมูลโดย Chatbhuri CHALERMNON นักเรียนเกรด 12 ห้อง A)

เมื่อเรานึกถึงเส้นทางการเดินทางติดต่อในสมัยโบราณระหว่างทวีปเอเชียและทวีปยุโรป เรามักจะนึกถึงเส้นทางสายไหม ในประเทศฝรั่งเศส ผ้าไหมได้รับความนิยมเป็นอย่างมากนับตั้งแต่การมาถึงจากประเทศจีนเดินทางผ่านประเทศอิตาลีในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ในภาพ เราเห็นโรงงานทอผ้าในเมืองลียง (Lyon) สมัยศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นทายาทของ “โรงงานผ้าไหมลียงแนส Lyonnaise” สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 16 เมื่อพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 ทรงมอบสิทธิพิเศษแก่ช่างทอผ้าในเมืองลียงซึ่งเคยมอบให้กับเมืองตูร์มาก่อน เพื่อสามารถต่อสู้กับการแข่งขันของอิตาลี ในเขตที่เรียกว่า ครัวซ์รูส (Croix-Rousse) เป็นเขตที่มีหญิงปั่นด้ายกรอด้ายและช่างทอผ้าชาย ในภาษาฝรั่งเศสเรียกว่า คานุต (Canuts)  รวมกลุ่มกันอยู่เป็นชุมชนมากที่สุด ซึ่งส่วนใหญ่จะพักอาศัยอยูในหมู่บ้านทอผ้านี้เลย ครัวซ์รูส (Croix-Rousse) มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “เนินเขาแห่งการทำงาน” ตรงข้ามกับ “เนินเขาแห่งการสวดมนต์” ที่ชื่อโฟวิแยร์ (Fourvière) ซึ่งมีโบสถ์ที่สร้างขึ้นเพื่อบูชาพระแม่มาเรีย และวิหารนอเทรอดาม (Notre-Dame) ที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2413 ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น ในประเทศไทย กษัตริย์เจ้าเมืองน่านได้ทรงตัดสินพระทัย สร้างและบูรณะวัดต่างๆ ในราชอาณาจักรของพระองค์ เราจึงได้เห็นภาพเขียนฝาผนังของวัดภูมินทร์ในภาพนี้ บนผนังของวัดมีหลายภาพที่แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตของชาวไทลื้อ ผู้มีถิ่นกำเนิดมาจากมณฑลยูนนาน ในประเทศจีน ผู้หญิงที่ทอผ้าไหมจะสวมซิ่นลายน้ำไหลแบบดั้งเดิม และที่ผนังวัดมีคำอธิบายภาพเขียนเป็นภาษาท้องถิ่นของจังหวัดน่าน การค้นพบเส้นใยไหมที่แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง มีอายุ 2500 ปีก่อนคริสตกาล ในจังหวัดอุดรธานีพิสูจน์ให้เห็นว่าการทอผ้าไหมในภูมิภาคนี้มีมาแต่โบราณ ภายหลังจากการเสื่อมโทรมเป็นเวลานาน ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาของผ้าไหมในประเทศไทยได้เริ่มต้นขึ้นโดยจิม ทอมป์สันในศตวรรษที่ 20

4.- Carcassone

La cité de Carcassonne gardée par des Ogres Yakshas / The city of Carcassonne kept by Yakshas Ogres
เมืองการ์กาสซอนน์ที่ได้รับการปกปักจากยักษ์ทวารบาล
(เรียบเรียงข้อมูลโดย Pho SIRIMANUWAT, นักเรียนเกรด 10 ห้อง C)

เราลองย้อนกลับไปในยุคศตวรรษที่ 14 ณ เมืองการ์กาสซอนน์ ซึ่งเป็นเมืองที่มีชื่อเสียงของแคว้นที่ปัจจุบันมีชื่อว่า แคว้นอ็อกซีตานี เมืองนี้มีชื่อเสียงเพราะมีป้อมปราการของยุคกลาง ตัวเมืองมีกำแพงสองชั้นล้อมรอบซึ่งประกอบด้วยหอสังเกตการณ์ห้าสิบสองแห่ง หนึ่งในประตูทางเข้าเมืองการ์กาสซอนน์ มียักษ์ 2 ตน ที่มาจากประเทศไทย และได้ปรากฏตัวในศตวรรษที่ 14 เป็นผู้เฝ้าประตูเมือง ยักษ์เหล่านี้ส่วนใหญ่จะมีใบหน้าที่มีลักษณะเฉพาะ คือมีตากลมโปนและมีเขี้ยวยื่นออกมา มีผิวสีเขียวหรือสีม่วง เราเรียกว่า ยักษา ผู้พิทักษ์สองตนที่เห็นในรูปภาพนี้ได้รับเลือกให้ปกป้องวัดพระแก้วหรือวัดพระศรีรัตนศาสดารามในกรุงเทพฯ ตั้งแต่ศตวรรษที่ 18

124ED3BA-847D-408E-AFB1-F254677B2874

Les bancs publics / Public benches
ม้านั่งสาธารณะ

เป็นการยากที่จะนึกถึงม้านั่งสาธารณะโดยไม่นึกถึงเนื้อร้องของเพลงที่มีชื่อเสียงของฌอร์ฌ บราซ็องส์ ชื่อว่า “คนรักม้านั่งสาธารณะ” แต่งและเรียบเรียงในปี พ.ศ. 2496 มีเนื้อร้องว่า “คู่รักที่จุมพิตบนม้านั่งสาธารณะ / ม้านั่งสาธารณะ ม้านั่งสาธารณะ / ไม่สนใจการจ้องมองของผู้คนที่เดินผ่านไปมา (…) พร้อมพูดว่า “ฉันรักคุณ” ให้แก่กันอย่างน่าสงสาร / พวกเขาช่างมีใบหน้าที่น่ารัก” ช่างภาพโรแบร์ต ดัวส์โน ได้ทำให้ม้านั่งสาธารณะกลายเป็นมุมอมตะในหลายช็อต โดยแสดงให้เห็นภาพคู่รักที่โอบกอด รวมทั้งภาพเด็กและคนชรา นับตั้งแต่ยุคกลาง ช่วงระหว่างจักรวรรดิที่สอง บารง โอสมานน์ได้วางม้านั่งตามแนวต้นไม้ริมทางเท้าบนพื้นที่ขนาดใหญ่ในกรุงปารีส บนภาพนี้ ตัวละครสวมชุดโขนและผู้หญิงชาวฝรั่งเศสจะพูดคุยสนทนาถึงเรื่องอะไรกันนะ ขณะนั่งมองกำแพงของสถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศส?

12.- Mont Saint Michel

La fête des Lumières au Mont Saint-Michel / The fête des Lumières at Mont Saint-Michel
เทศกาลลอยโคมที่มงต์ แซงต์-มิแชล
(เรียบเรียงข้อมูลโดย Mélissa DUPONT, นักเรียนเกรด 8 ห้อง A) 

เกาะหินซึ่งเป็นที่ตั้งของโบสถ์แห่งนี้เรียกกันว่า มงแซ็งมีแชล(Mont Saint-Michel) ซึ่งตั้งขึ้นตามชื่อหัวหน้าเทวทูตที่คอยปกปักดูแลผู้อยู่อาศัยบริเวณนี้ในยุคกลาง  เนื่องจากสถานที่พิเศษแห่งนี้มีอ่าวกว้างซึ่งรูปร่างจะเปลี่ยนไปตามกระแสน้ำมงแซ็งมีแชล(Mont Saint-Michel) จึงเป็นหนึ่งในสถานที่ที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดของฝรั่งเศส ในประเทศไทย เราเห็นแสงสะท้อนในน้ำยามพลบค่ำจากการประดับไฟบนท้องฟ้าเหนือเมืองเชียงใหม่ช่วงเทศกาลลอยโคมหรือ ยี่เป็ง  เทศกาลนี้ถือเป็นการเฉลิมฉลองในวันเพ็ญเดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติของไทยซึ่งเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมล้านนา ผู้คนสามารถชื่นชมโคมไฟนับพันดวงที่ลอยขึ้นสู่ท้องฟ้ายามราตรี  พระสงฆ์บางส่วนก็ร่วมลอยยี่เป็งเพื่อเป็นการรำลึกถึงพระพุทธคุณด้วยเช่นกัน โคมสวรรค์หรือที่เรียกกันในภาษาไทยว่า โคมลอย มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า โคมสะเดาะเคราะห์หรือโคมประทีป  โคมนั้นก็คือ บอลลูนที่ทำจากกระดาษแก้วแล้ววางเทียนไว้ด้านใน การลอยโคมเป็นการสะเดาะเคราะห์และรำลึกถึงบรรพบุรุษที่อยู่บนสวรรค์

15.- Patchwork Tableaux Embl__matiques Fran__ais

La mosaïque des grands maîtres de la peinture / The mosaic of the great masters of painting
ภาพโมเสกของจิตรกรชั้นครู

ผลงานศิลปะบางชิ้นเป็นอมตะ ทว่าปรมาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ต่างก็ทำเครื่องหมายแสดงยุคของพวกเขา ในภาพได้มีการตัดต่อภาพวาดของปรมาจารย์ชาวฝรั่งเศสผู้ยิ่งใหญ่จากศตวรรษที่ 15 ถึงศตวรรษที่ 20 โดยนำมาตัดแต่งและผสมผสานเข้าด้วยกัน บางภาพมีอายุห่างกันหลายศตวรรษ เช่นเดียวกับเหล่าผู้เล่นไพ่โป๊กเกอร์บนภาพ เหล่าวีรบุรุษปะปนอยู่ในสิ่งที่พบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน สิ่งที่น่าเคารพนับถือก็อยู่รวมกับสิ่งสามัญ หนุมาน ตัวละครของวัฒนธรรมไทยก็เดินหลงอยู่ท่ามกลางภาพโมเสกในสไตล์อาร์ตเดคโค คุณหาเขาพบหรือไม่?

10.- Chateaux de la Loire

Dialogue architectural dans la vallée de la Loire / An architectural dialogue in the Loire valley
การผสมผสานทางสถาปัตยกรรมในลุ่มแม่น้ำลัวร์
(เรียบเรียงข้อมูลโดย Nicolas IORDACHE นักเรียนเกรด 12 ห้อง A)

ปราสาทที่ตั้งอยู่แถบลุ่มแม่น้ำลัวร์ ส่วนใหญ่มีลักษณะเฉพาะทางสถาปัตยกรรมร่วมกันอย่างหนึ่ง คือ สร้างขึ้นหรือมีการบูรณะครั้งใหญ่ในช่วงศตวรรษที่ 15 และ 16 ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ราชสำนักของกษัตริย์ฝรั่งเศสเริ่มก่อตั้งขึ้นในภูมิภาคหรือบริเวณโดยรอบ

เราจะสังเกตเห็นว่า ปราสาททั้งหมดมีสีอ่อน เนื่องมาจากการใช้หินปูนในการก่อสร้าง ทำให้ตัวปราสาททั้งหมดดูสว่างและตัดกับสีทึบของหลังคาที่ทำมาจากหินชนวน

ปราสาท Château d’Ussé เป็นแรงบันดาลใจให้ ชารลส์ แปร์โรต์ (Charles Perrault) เขียนนิทานเรื่องเจ้าหญิงนิทรา ปราสาท Château de Chambord มีความเกี่ยวข้องกับรัชสมัยของ พระเจ้าฟร็องซัวที่ 1 เนื่องจากเป็นปราสาทที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาปราสาทกว่า 3,000 แห่งริมแม่น้ำลัวร์ ปราสาท Château de Chenonceau มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า “ปราสาทสุภาพสตรี” เพราะสร้างและได้รับการบูรณะโดยสุภาพสตรีหลายท่านในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน ซึ่งมีส่วนส่งเสริมทะนุบำรุงและอนุรักษ์ปราสาทแห่งนี้ สุดท้าย จากปราสาท Château de Nozet สามารถมองเห็นไร่องุ่นที่ผลิตไวน์โดยใช้องุ่นขาวที่มีชื่อเสียงของฝรั่งเศส

ความสว่างของปราสาทเหล่านี้ทำให้เรานึกถึงวัดร่องขุ่น ในประเทศไทย ซึ่งเป็นวัดที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของจังหวัดเชียงราย หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าวัดสีขาว สร้างโดยอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ จิตรกรชื่อดัง สีขาวของวัดนี้ แสดงถึงความบริสุทธิ์ของพระพุทธศาสนา ตัวโบสถ์และงานประติมากรรมต่างๆ ล้วนฝังด้วยกระจกที่สะท้อนแสงระยิบระยับ เพื่อสื่อความหมายถึงการนำพาพุทธศาสนิกชนไปสู่นิพพาน  วัดแห่งนี้ยังก่อสร้างไม่เสร็จสมบูรณ์ และมีลักษณะเฉพาะไม่เหมือนวัดอื่นที่สร้างตามธรรมเนียมดั้งเดิม โดยวัดนี้สร้างและตกแต่งเป็นแบบศิลปะร่วมสมัย

JgCt5DPmTYC2UcbEBXsq+Q_thumb_241b8

Les bouches de métro / The subway entrance
ป้ายสถานีรถไฟฟ้า 

รถไฟใต้ดินสายแรกระหว่างสถานี ปอร์ต-เดอ-แวงแซ็นส์ (Porte-de-Vincennes) – ปอร์ต มัยโย (Porte Maillot)เปิดให้บริการแก่สาธารณชนเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2443 โดยให้บริการสำหรับกิจกรรมโอลิมปิกฤดูร้อนปี พ.ศ. 2443 ที่ บัวส์ เดอ แวงแซ็นส์ (Bois de Vincennes) สถาปัตยกรรมที่มีหลังคาคลุมเปิดโล่งด้านข้างที่อยู่บนทางเดินสาธารณะ คือป้ายทางเข้ารถไฟใต้ดินที่ได้รับการออกแบบโดย Hector Guimard สถาปนิกชั้นแนวหน้าของวงการศิลปะแบบอาร์ตนูโวในขณะนั้น โครงเหล็กหล่อเหล่านี้โดดเด่นจากการตกแต่งด้วยแผ่นกระจกเป็นลายพืชพรรณ ตั้งแต่นั้นมาสถาปัตยกรรมนี้ก็ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ป้ายสถานีรถไฟใต้ดินอีกหลายแห่ง รวมถึงโครงรูปนกฮูก ผลงานทัศนศิลป์ของ Jean-Michel Othoniel ที่สร้างจากอะลูมิเนียมทรงกลมและแก้วมูราโน่ ผลงานชิ้นนี้ตั้งอยู่ที่ Place Colette ตรงข้ามโรงละคร Comédie Française ที่สถานี Palais Royal-Musée du Louvre สำหรับประเทศไทย ป้ายทางเข้าสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสและรถไฟใต้ดินก็มีการออกแบบเฉพาะที่จดจำได้ง่าย

11.- Galerie des Glaces

La Galerie des Glaces de Versailles : miroir de l’histoire diplomatique franco-thaïlandaise / The Versailles Galerie des Glaces : mirroring the franco-thai diplomatic history
ห้องกระจกแห่งพระราชวังแวร์ซายส์:  ภาพสะท้อนประวัติศาสตร์ทางการทูตไทย-ฝรั่งเศส (เรียบเรียงข้อมูลโดย Kita KLONGWATHANAKITH, นักเรียนเกรด 12 ห้อง B)

ณ ท้องพระโรงพระราชวังแวร์ซายส์แห่งราชสำนัก “กษัตริย์สุริยเทพ”  สมบัติทุกชิ้นล้วนแต่ดูงดงามตระการตา แต่เท่านั้นยังไม่พอ เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2429 การมาเยือนพระราชวังของคณะราชทูตสยามได้เพิ่มเสน่ห์ให้พระราชวังอีกหลายเท่าตัว โดยคณะทูตได้อันเชิญพระราชสาสน์สีทองของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชขึ้น มณฑป และนำไปตั้งที่ปลายพระราชบัลลังก์ เพื่อถวายแก่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ความยิ่งใหญ่ของเหตุการณ์ประวัติศาสตร์นี้สามารถประเมินได้จากรายการเครื่องราชบรรณาการที่สยามนำมาถวายแก่ฝรั่งเศส อาทิเช่น เครื่องสังคโลก เครื่องหยก เครื่องเคลือบ ผ้าไหม เป็นต้น ซึ่งสร้างความประทับพระราชหฤทัยแก่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 และพระบรมวงศานุวงศ์เป็นอย่างมาก การถวายบังคมต่อหน้าพระพักตร์แทนการทักทายแบบตะวันตก สร้างความประหลาดใจให้เหล่าขุนนางนับ 1,500 คนที่เข้าร่วมพิธี ผ้าทอมือลายสี่เหลี่ยมสีน้ำเงินสลับขาวได้กลายเป็นที่แพร่หลายอย่างรวดเร็วในหมู่ขุนนางฝรั่งเศส ทางด้าน “กษัตริย์สุริยเทพ” แห่งฝรั่งเศส ทรงสร้างความประทับใจโดยการเสด็จออกรับคณะราชทูต ณ ห้องกระจกแห่งพระราชวังแวร์ซายส์ ซึ่งได้รับการออกแบบมาอย่างพิถีพิถัน ห้องโถงนี้มีความยาว 73 เมตร ประกอบด้วยซุ้มประตู 17 ซุ้ม โดยแต่ละซุ้มประดับกระจกเงา 21 บาน รวมทั้งสิ้น 357 บาน กระจกเงาซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งการขยายพระราชอำนาจของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ในเวลาต่อมา สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงมอบหมายให้เหล่าขุนนางสั่งกระจกหลายพันบานเพื่อนำมาประดับพระบรมมหาราชวังในกรุงศรีอยุธยา และลพบุรี และบางส่วนใช้ประดับผนังพระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาท จังหวัดลพบุรี ก่อนย้ายไปยังเจดีย์หลักที่วัดพระพุทธบาท

14.- Vue contemporaine Résidence LIGHT

La Résidence de France en 2022 / The French Residence in 2022
ทำเนียบเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสใน พ.ศ. 2565
(เรียบเรียงข้อมูลโดย Erika BOSREDON นักเรียนเกรด 10 ห้อง B)

สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศส ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะทูตชุดแรกในประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นในคราวแรกเป็นสถานกงสุล ภายหลังการลงนามในสนธิสัญญามิตรภาพและการค้าระหว่างสยามกับฝรั่งเศส พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้อาคารโรงภาษีเก่าริมแม่น้ำเจ้าพระยาก่อตั้งสถานกงสุลเป็นการชั่วคราว ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทาน ตัวอาคารพร้อมกับที่ดินให้แก่ประเทศฝรั่งเศสเป็นการถาวร อาคารที่ปัจจุบันได้กลายเป็นทำเนียบทูตฝรั่งเศส ได้รับการซ่อมแซมหลายครั้ง: มีการต่อเติมระเบียงและเฉลียงเพิ่มเติม ในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 ได้มีการตั้งคำถามถึงการย้ายที่ทำการสถานทูต โดยการขายที่ดินแล้วย้ายออกไปตั้งที่ใหม่ทางตะวันออกเหมือนกับสถานทูตหลายแห่งในสมัยนั้น ตรงบริเวณสาทรและวิทยุ หรือแม้กระทั่งที่ดินผืนใหญ่แถวเพลินจิตที่ฝรั่งเศสได้ครอบครอง หรือจะรื้อถอนอาคารเก่าหลังนี้แล้วสร้างใหม่ให้มีความทันสมัยมากขึ้น ดังที่นักเขียนปอล โมร็องด์ (Paul Morand) ได้เขียนไว้ว่ามีอัครราชทูตหลายท่านคัดค้านแนวคิดการย้ายนี้ ต่อมาในปี พ.ศ. 2473 อัครราชทูต ชาร์ลส์ อาร์แซ็น อ็องรี (Charles Arsène Henry) และชุมชนชาวฝรั่งเศสในขณะนั้นได้จัดทำประชามติกันขึ้น เพื่อตัดสินใจอย่างเด็ดขาดเกี่ยวกับการย้ายครั้งนี้ ซึ่งมีมติเป็นเอกฉันท์ปฏิเสธไม่ให้ย้ายจากชาวฝรั่งเศสในประเทศไทยที่มีความผูกพันกับสถานที่แห่งนี้ ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อาคารซึ่งไม่ได้รับการบำรุงรักษามาหลายปี อยู่ในสภาพทรุดโทรมจนต้องจัดให้มีการซ่อมแซมฟื้นฟูในปี พ.ศ. 2490 และต่อมาในปี พ.ศ. 2495 ขณะเดียวกันในปี พ.ศ. 2492 สถานกงสุลแห่งนี้ได้รับการยกระดับขึ้นเป็นสถานเอกอัครราชทูต การปรับปรุงสถานทูตครั้งล่าสุดมีเมื่อขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2543 ถึง 2545 ภาพวาดที่แสดงบนประตูทางเข้าหลักของทำเนียบเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสในปัจจุบัน แสดงให้เห็นโดยเฉพาะอย่างยิ่งการการบำรุงรักษาสวน สถานที่ทางประวัติศาสตร์แห่งนี้แตกต่างกับอาคารใหม่ด้านหน้า ที่เป็นลักษณะของสถาปัตยกรรมร่วมสมัย ซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานของสถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศส โดยสร้างเสร็จในปี 2558 ทำเนียบเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมทุกปีในเดือนกันยายนเนื่องในวันมรดกยุโรป

1.b- French Consulate entrance

Signature du premier traité franco-thaïlandais / Signing the first franco-thai treaty
การลงนามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส (เรียบเรียงข้อมูลโดย Jintrakarn KOSHPASHARIN นักเรียนเกรด 10 ห้อง B)

ปฏิทินภาพพิมพ์ประจำปี พ.ศ. 2230 ที่ได้บันทึกเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของปีก่อนหน้า ถึงการสานสัมพันธไมตรีระหว่างฝรั่งเศสและสมเด็จพระนารายณ์มหาราช  กษัตริย์แห่งสยาม ซึ่งเป็นชื่อเดิมของประเทศไทย ภายหลังการเริ่มต้นเจริญสัมพันธไมตรีเมื่อปี พ.ศ. 2216 ในภาพกษัตริย์ “สุริยเทพ” หรือพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ยื่นพระหัตถ์ไปรับสาสน์จากเจ้าพระยาโกษา ปาน เอกอัครราชทูตแห่งกรุงสยาม ในช่วงเหตุการณ์ประวัติศาสตร์นี้ ประเทศฝรั่งเศสต้องการขยายอิทธิพลมาทางแถบทวีปเอเชีย ในขณะเดียวกันประเทศไทยกำลังมองหาพันธมิตรที่แข็งแกร่งในทวีปยุโรป บุคลิกและการแต่งกายของเจ้าพระยาโกษา ปาน ได้สร้างความประทับใจให้แก่ชาวฝรั่งเศสเป็นอย่างมาก ท่านสวมหมวกทรงแหลมที่เรียกว่า “ลอมพอก” ซึ่งเป็นหมวกที่ทำมาจากไม่ไผ่ มีผ้าสีขาวพันรอบ ตกแต่งด้วยเงินและดอกไม้สีทองมีอัญมณีประดับอยู่ตรงกลาง การเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศฝรั่งเศสและสยาม ประกอบกับการเดินทางไปเยือนประเทศฝรั่งเศสของคณะราชทูตไทยในครั้งต่อมา ถือเป็นหน้าประวัติศาสตร์อันสำคัญยิ่งทางด้านความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ

13.- Chao Phraya _ Bateaux Fran__ais

La France sur les rives du Chao Phraya / France on the Chao Phraya banks
ประเทศฝรั่งเศสบนฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา
(เขียนโดย Erika BOSREDON – นักเรียนเกรด 10 ห้อง B)

เจ้าพระยา คือตำแหน่งบรรดาศักดิ์ของขุนนางที่สูงที่สุดในประเทศไทย และเจ้าพระยา ก็ยังเป็นชื่อของแม่น้ำสายหลักที่ไหลผ่านกรุงเทพมหานครด้วย ซึ่งเป็นเส้นทางคมนาคมและการค้าที่สำคัญของประเทศ ในภาพเราจึงเห็นเรือกำปั่นของชาวฝรั่งเศสลำหนึ่งกำลังแล่นอยู่บนแม่น้ำ

มีการสร้างอาคารที่มีลักษณะแบบยุโรปเป็นจำนวนมากบริเวณริมฝั่งของแม่น้ำสายนี้ โดยเฉพาะในเขตบางรัก ผู้แทนทางการทูตจากประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะทูตชุดแรกๆ ได้มาตั้งสถานกงสุลในปี พ.ศ. 2400 หลังจากการลงนามในสนธิสัญญาความร่วมมือและการค้าระหว่างฝรั่งเศสและไทย

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชานุญาตให้นักการทูตฝรั่งเศสได้อาศัยในที่ดินแปลงหนึ่ง ในปี พ.ศ. 2400 ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชทานที่ดินแปลงนี้ให้แก่คณะทูตฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2418

ได้มีการปรับปรุงตัวอาคารทำเนียบทูตหลายครั้ง มีการเพิ่มเติมส่วนที่เป็นซุ้มทางเข้าและเฉลียง สถานที่ทางประวัติศาสตร์แห่งนี้ มีลักษณะการออกแบบที่แตกต่างไปจากอาคารสำนักงานแห่งใหม่ของสถานทูตซึ่งสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2558

ทำเนียบทูตฝรั่งเศส จะเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมทุกปี ในวันแห่งการอนุรักษ์มรดกของยุโรป ในช่วงเดือนกันยายน

5.- Tour Eiffel _ Wat Arun

Du Wat Arun à la Tour Eiffel / From Wat Arun to the Eiffel Tower
จากวัดอรุณถึงหอไอเฟล
(เรียบเรียงข้อมูลบางส่วนโดยนาย Chatbhuri CHALERMNON นักเรียนเกรด 12 ห้อง A)

เมื่อเราพูดถึงสถานที่อันเป็นสัญลักษณ์ของกรุงปารีส  เรามักจะนึกถึงหอไอเฟล  หอคอยโครงสร้างเหล็กชิ้นนี้สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์ของงานแสดงสินค้าโลกในปี พ.ศ. 2432  โดยในทีแรกไม่มีใครคาดคิดว่าสิ่งก่อสร้างชิ้นนี้จะตั้งอยู่ยาวนานข้ามศตวรรษ  เมื่อกล่าวถึงสัญลักษณ์ของกรุงเทพฯ คนส่วนมากก็มักจะนึกถึงวัดอรุณ หรือวัดแจ้ง  จากภาพนี้จะเห็นว่าสิ่งก่อสร้างทั้งสองสิ่งนี้ถูกรวมเข้าไว้ด้วยกันหน้าลานน้ำพุทรอกาเดโร  น้ำในสระเชื่อมโยงและสะท้อนให้เห็นถึงเงาประติมากรรมที่มีชื่อเสียงของกรุงเทพฯ และกรุงปารีส  ภาพดังกล่าวให้ความรู้สึกราวกับว่าเวลาได้หยุดหมุนลงและผลงานทั้งสองชิ้นนี้จะหยัดยืนเป็นสัญลักษณ์ของทั้งสองประเทศไปชั่วนิรันดร์  ทางด้านขวามือมีรูปปั้นกินรีจากวัดพระแก้วซึ่งเป็นเครื่องหมายแห่งวงการนาฏกรรมไทย ความงดงามและความสำเร็จ นอกจากนี้ รูปปั้นกินรีขนาดเล็กยังได้รับการนำมาประดับเป็นถ้วยรางวัลของเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติกรุงเทพอีกด้วย  ส่วนทางด้านซ้ายมือนั้น เราสามารถชื่นชมความงามของประติมากรรมอันเป็นตัวแทนของความลุ่มลึกในห้วงอารมณ์และเป็นสิ่งเชื่อมโยงระหว่างมนุษย์กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์  รูปปั้น”คนครุ่นคิด” (Penseur) ของโรแด็ง แสดงให้เห็นถึงภาพของชายผู้กำลังใคร่ครวญ  ส่วนรูปปั้น”เทวดายิ้ม” (L’Ange au sourire) ซึ่งเป็นรูปปั้นที่ตั้งอยู่หน้ามหาวิหารแร็งส์ ประเทศฝรั่งเศส นั้น เผยให้เห็นถึงความดีอันสูงส่งภายใต้รอยยิ้มที่อบอุ่น  และรูปปั้น”หญิงวิงวอน” (L’Implorante) ของศิลปินชื่อกามีย์ กลอแดล นั้นก็สื่อถึงความทุกข์ทรมานที่เกิดจากความรักอันแรงกล้า

7.- Etretat

D’Etretat à Phang Nga : une rêverie littorale / From Etretat to Phang Nga : a coastline reverie
จากเอเทรอตาต์ (Etretat) ถึงพังงา : จินตภาพบนชายฝั่ง  (เรียบเรียงข้อมูลบางส่วนโดยนาย Pho SIRIMANUWAT นักเรียนเกรด 10 ห้อง C)

นี่คือทัศนียภาพชายฝั่งทะเลที่ทุกคนคุ้นเคยในมุมมองอันแตกต่าง  มีการรวมภาพภูมิประเทศซึ่งตั้งอยู่ห่างไกลกันคนละทวีปทว่ามีสิ่งคล้ายคลึงกันโดยเฉพาะในแง่มุมอันเป็นสถานที่ซึ่งเป็นที่รู้จักสำหรับนักท่องเที่ยวและผู้สร้างภาพยนตร์  ภาพแรกพาเราเดินทางไปยังเมืองเอเทรอตาต์ซึ่งตั้งอยู่ใกล้บริเวณช่องแคบอังกฤษทางตอนเหนือของประเทศฝรั่งเศส บนชายฝั่งอัลบาตร์ (Albâtre)  ผู้คนรู้จักหน้าผาและหาดกรวดสีเทาอันเป็นสัญลักษณ์ของที่นี่เป็นอย่างดี เช่นเดียวกับที่รู้จักหน้าผารูปซุ้มโค้งสีขาวขนาดใหญ่ทั้งสามแห่งในบริเวณนี้   ปอร์ต ดาวาล (Porte d’Aval) คือหน้าผาที่ปรากฏให้เห็นในภาพ เป็นฉากหนึ่งของนิยายเรื่องอาร์แซน ลูแป็ง (Arsène Lupin) ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับสุภาพบุรุษนักย่องเบาอันเป็นผลงานของนักเขียนชื่อโมริส เลอบลองก์ (Maurice Leblanc) และเมื่อเร็วๆ นี้ก็ได้มีการนำไปดัดแปลงเป็นซีรีส์อันโด่งดังซึ่งนำแสดงโดยโอมาร์ ซี (Omar Sy)  ภาพที่สองพาเราเดินทางต่อไปยังชายฝั่งตะวันตกของประเทศไทย บริเวณอ่าวพังงา ฝั่งทะเลอันดามัน เขาพิงกันเป็นภูเขาสองลูกที่แนบยึดติดกันบนเกาะและมีชื่อเสียงโด่งดังเพราะปรากฏอยู่ในตอนหนึ่งของภาพยนตร์เรื่องเจมส์ บอนด์ (James Bond) อีกเกาะหนึ่งที่เห็นซึ่งมีรูปร่างคล้ายตะปูนั้นมีชื่อว่าเกาะตะปู  ทุกวันนี้เราสามารถนั่งเรือเดินทางไปใกล้ๆ เกาะเจมส์บอนด์ได้  แต่มิอาจเข้าใกล้เกาะตะปู ทั้งนี้เพื่อชะลอการสึกกร่อนของหินปูนอันมีสาเหตุจากคลื่นที่เกิดขึ้นขณะเทียบเรือ  ภาพที่สามพาเราไปยังทะเลกระบี่และเกาะที่เต็มไปด้วยภูเขาหินปูน  ในบริเวณนี้มีเกาะปอดะนอกซึ่งมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก เพราะมีรูปร่างเหมือนไก่ จึงได้รับการขนานนามอีกชื่อหนึ่งว่า เกาะไก่

2.- Ponts

Des ponts à travers l’histoire / Bridges across History
สะพานข้ามประวัติศาสตร์
(เรียบเรียงข้อมูลบางส่วนโดย Andy MONTIAS นักเรียนเกรด 8 ห้อง A)

ชาวฝรั่งเศสทุกคนต่างก็รู้จักเพลงสำหรับเด็กที่มีชื่อว่า “ใต้สะพานเมืองอาวิญง” (Sur le pont d’Avignon)  สะพานปง ดู การ์ด (Pont du Gard) ซึ่งเป็นสะพานส่งน้ำที่สูงที่สุดในยุคโรมัน  ตั้งอยู่ห่างจากเมืองอาวิญงราว 25 กิโลเมตร  ส่วนสะพานปง เดอ ต็องการ์วิลล์ (Pont de Tancarville) นั้นเป็นสะพานแขวนข้ามปากแม่น้ำแซน  และเป็นแรงบันดาลใจให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำริให้สร้างสะพานพระรามแปดขึ้น ซึ่งสะพานดังกล่าวนับเป็นสะพานขึงแห่งแรกที่สร้างขึ้นในประเทศไทย  ความโดดเด่นของสะพานแห่งนี้คือการเป็นสะพานขึงแบบอสมมาตรโดยมีเสาสะพานหลักรูปตัววาย (Y) กลับด้านเพียงเสาเดียวบนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา  ส่วนสะพานวิอาดุก เดอ มิลโล (Viaduc de Millau) ในฝรั่งเศสซึ่งเริ่มเปิดใช้สองปีหลังจากสะพานพระรามแปด หรือในปี พ.ศ. 2547 นั้นนับเป็นสะพานแขวนเคเบิลที่สูงที่สุดในโลก โดยมีความสูงมากกว่าหอไอเฟลเสียด้วยซ้ำ  สะพานเหล่านี้เป็นสิ่งเชื่อมโยงมิตรภาพระหว่างประเทศไทยและประเทศฝรั่งเศส ทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงนวัตกรรมทางเทคโนโลยีซึ่งถ่ายทอดมาเป็นผลงานชิ้นเอกของงานสาขาวิศวกรรมโยธา

9V2A9041

Danseuses Khon sur les colonnes de Buren / Khon dancers on the Buren columns
คณะนักแสดงโขนกับงานศิลปะของบูแรน
(เรียบเรียงโดยนางสาว Hana SHODLADD นักเรียนเกรด 12 ห้อง C)

ปาเลส์ รัวยาล (Palais Royal) เป็นพระราชวังซึ่งถูกสร้างขึ้นใจกลางกรุงปารีสในปี พ.ศ. 2171 โดยพระคาร์ดินัล ริเชอลิเยอ (Richelieu)  สถานที่แห่งนี้เป็นที่รู้จักโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อกล่าวถึงลานกว้างด้านหน้าพระราชวัง ซึ่งเป็นสถานที่จัดงานเฉลิมฉลองและเป็นพื้นที่ให้เหล่าศิลปินได้แสดงความสามารถ  ในปี พ.ศ. 2529 ได้มีการต่อเติมเสาหินบริเวณด้านหน้าลานกว้างแห่งนี้ ซึ่งออกแบบโดยดาเนียล บูแรน (Daniel Buren) ศิลปินชาวฝรั่งเศส เสาหินอ่อนลายทางสีขาวสลับดำจำนวน 260 ต้น ได้รับการออกแบบให้ไม่มียอดสูง เพื่อให้ประชาชนได้ยืนด้านบน กระโดด เล่น กล่าวสุนทรพจน์ หรือทำท่าทางเลียนแบบรูปปั้นในสมัยโบราณ แต่ที่เห็นในภาพนี้กลับไม่ใช่ชาวปารีสหรือนักท่องเที่ยวที่กำลังยืนอยู่บนเสา แต่เป็นนักแสดงนาฏกรรมสวมหน้ากากอันมีชื่อเสียงของไทย หรือที่รู้จักกันในนามโขนนั่นเอง  ศิลปะแขนงนี้ได้รวมองค์ประกอบทางดนตรี การขับร้อง วรรณกรรมไว้ด้วยกัน และผสมผสานเข้ากับท่วงท่าร่ายรำรวมถึงเครื่องแต่งกายที่มีความระยิบระยับแพรวพราว  สิ่งที่น่าตื่นตาตื่นใจจากภาพนี้คือการผนวกวัฒนธรรมทั้งสองประเทศไว้ร่วมกันอย่างกลมกลืนผ่านศิลปะแบบดั้งเดิม ศิลปะร่วมสมัย และศิลปะคลาสสิก

3.- Pyramides du Louvre

Variations thaïlandaises autour des pyramides du Louvre /Thai variations around the Louvre pyramids
ศิลปะไทยหลากหลายรูปแบบรอบพีระมิดลูฟวร์ (Louvre)
(เรียบเรียงข้อมูลบางส่วนโดย Mina PRIEUR นักเรียนเกรด 9 ห้อง A)

พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ประกอบด้วยพีระมิดห้าหลังซึ่งหนึ่งในนั้นเป็นพีระมิดกลับหัว เป็นผลงานการออกแบบของสถาปนิกชาวอเมริกันเชื้อสายจีนนามเป้ย อวี หมิง (Ieoh Ming Pei) ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ในปีพ.ศ. 2532  ภาพนี้เป็นการนำเอาพีระมิดลูฟวร์สามหลังมาไว้ในภาพ มีศิลปินหลายท่านมาร่วมกัน “เล่น”กับสิ่งก่อสร้างที่ทำจากแก้วและโลหะชิ้นนี้  อาทิ JR ศิลปินสตรีทอาร์ตชาวฝรั่งเศสซึ่งได้ใช้ภาพหลายร้อยภาพมาแปลงโฉมพีระมิดให้เกิดเป็นภาพลวงตา ในปีพ.ศ. 2562  ส่วนพีระมิดสองหลังที่ปรากฏอยู่เบื้องหน้านี้เป็นภาพตัดต่อผลงานของอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี ศิลปินชื่อดังชาวไทย ผู้ชื่นชอบรูปทรงสามเหลี่ยมเป็นพิเศษเพราะเห็นว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งชีวิตและพระพุทธศาสนา ผลงานนี้ได้รับการออกแบบอย่างจงใจให้มีความหนักและมีองค์ประกอบทับซ้อนมากมายในภาพ เช่น ภาพร่างมนุษย์ในจินตนาการ สิ่งมีชีวิตรูปร่างแปลกประหลาด และภาพพระพุทธรูป นอกจากนี้ยังมีการใช้สีทองแต่งแต้มซึ่งชวนให้นึกถึงแผ่นทองคำเปลวที่ใช้ในพระคัมภีร์พระไตรปิฎก เพื่อเติมแง่มุมความศักดิ์สิทธิ์ลงไปในผลงาน

Related posts: