Galleries’ Night 2023 Opening party at Jim Thompson Art Center ปีนี้ งานแกลเลอรี่ ไนท์ จัดงานเปิดตัวล่วงหน้าก่อนงานหนึ่งวัน ที่หอศิลป์บ้านจิมทอมป์สัน ถือโอกาสฉลองครบรอบ 10 ปี ด้วยงานแสดง HOMO URBANUS A City-Matographic Odyssey อ่านยากหน่อยภาษาลาติน โดยศิลปินคู่ อิล่า เบก้า (Bêka) ชาวอิตาเลียน และ หลุยส์ เลอโมน (Lemoine) ชาวฝรั่งเศส
งานแสดงถ่ายทอดผ่าน วิดีโอ explore ความสัมพันธ์มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม ถ่ายทำผู้คนในหลายเมือง อาทิ ญี่ปุ่น เกาหลี อิตาลี รวมทั้งเมืองไทย เป็นการถ่ายวิดีโอโดยสัญชาติญาณ มีภาพ ไม่มีเสียง ยกเว้นเสียงจากธรรมชาติตอนถ่ายทำ ไม่มีคำบรรยาย ให้ผู้ชมจินตนาการเอง โดยตอกย้ำความสำคัญของสิ่งแวดล้อม อาคาร สถาปัตยกรรม ที่มีต่อมนุษย์ โดยที่เราอาจลืมและไม่นึกถึง
ก่อนงานมี session เสวนากับศิลปิน ปลื้มไปกับคนจัด คนเต็มห้อง รวมทั้งที่ตีตั๋วยืน ต่อด้วยการชมวิดีโอ ห้องจัดแสดงมีเบาะนิ่ม ๆ ให้นั่งดู และสุดท้ายปาร์ตี้สังสรรค์ พร้อมไวน์ แชมเปญ และอาหาร
ขอบคุณ Thierry Bayle, Cultural Attache ตัวแทนท่านทูตฝรั่งเศส ที่ติดภาระด่วน และ กฤติยา กาวีวงศ์ ผู้อำนวยการหอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน ที่ต้อนรับแขกเหรื่อ
วันแรก แกลเลอรี่ ไนท์ – Alliance Française, Pulse Gallery, Kathmandu, Luka Bangkok เส้นทาง สีลม-สาทร-ริเวอร์ไซด์ ปีนี้ไปแบบชิล ๆ แถมฝนเทช่วงเย็น ออกสตาร์ทช้า เลยเก็บได้แค่ 4 แห่ง (ปีที่แล้วลุยไป 7) ใครว่างานศิลป์น่าเบื่อ ต้องมา ท่องราตรีเสพย์ศิลป์ ชม แกลเลอรี่ ไนท์ สนุกสนานเหมือนไปงานปาร์ตี้ 4 แกลเลอรี่ ก็ 4 แบบ
(Photos: อิทธิพล กิจกำจาย -Itthipon Kijkamjai)
เริ่มต้นที่ สมาคมฝรั่งเศส – Alliance Française ถนนวิทยุ นิทรรศการผลงาน installation และ painting โดย ศรชัย พงษ์ษา (Sornchai Phongsa) ศิลปินไทยเชื้อสายมอญ สนใจความหลากหลายของวัฒนธรรม ได้รับทุนไป workshop ที่ปารีสนาน 4 เดือน
ผลงานจัดแสดง ให้ชื่อว่า Dogma Yard หมายถึงความเชื่อบวกพื้นที่ เล่นเกี่ยวกับพื้นที่ตำบลแม่เหียะ จังหวัดเชียงใหม่ กับการบูชายัญควายให้กับผี จัดทุกเดือนมิถุนาของปี แต่เดิม ชาวบ้านบูชาผีขอน้ำขอฝน ปัจจุบันกลายมาเป็นธุรกิจท่องเที่ยว นำเงินมาให้ ทัวริสต์หลั่งไหล่มาชมมากมาย
ต่อกันที่ Pulse Gallery อยู่ในซอยเล็ก ๆ ด้านหลังสีลม ระหว่างพัฒพงษ์ และ ซอย 4 วัตถุประสงค์คือ ส่งเสริมความเท่าเทียม ความคิดสร้างสรรค์ และความหลากหลายในชุมชนศิลปะ LGBTQ+ ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับโลก “We believe that art has the power to challenge stereotypes, break down barriers, and promote understanding among individuals of all backgrounds.”
(Photos: อิทธิพล กิจกำจาย -Itthipon Kijkamjai)
ธีมงานให้ชื่อว่า OH LA LA รวมตัวศิลปินเกือบ 20 มีหลายรูปแบบ ทั้ง painters, installation and sound artists, videographers and photographers นำเสนอผลงานที่เป็น tribute ให้กับหลายนักเขียนและศิลปินดังฝรั่งเศส ชื่อก็ตามข้อความที่ลอกมา “Marquis de Sade’s extreme literature, the Origin of the world by Courbet, the vivid paintings of brothels by Toulouse Lautrec, the Second sex by Simone de Beauvoir, or the first openly erotic movie Emmanuelle,” บรรยากาศ เป็น french มาก ๆ เห็นชื่อ Curators มีมี่ Myrtille Tibayrenc & Francois Langella แล้วถึงบางอ้อ
สำหรับใครที่ไม่รู้จัก Marquis de Sade ให้ background คร่าว ๆ ว่า เป็นนักเขียนและนักปรัญชาชาวฝรั่งเศสยุคศตวรรษที่18 วิกิพิเดียว่าเป็น “French writer, libertine, political activist and nobleman best known for his libertine novels and imprisonment for sex crimes, blasphemy and pornography” สรุปสั้น ๆ ชื่อ Sade และ งานเขียนของเขาเป็นที่มาของคำว่า Sadism ร่ายยาวเพราะผลงาน อีโรติก จัดแสดง มีที่มาที่ไป
งานปาร์ตี้เหมือนลัทธิบูชา “เจ้าจำปี” ไปถึงเริ่มพอดี บรรยากาศครึกครื้น นักร้องคู่โอเปร่า ร้องดีมาก ทั้งโอเปร่าอิตาเลียน และ musical Phantom of the opera ที่หลาย ๆ คนชื่นชอบ
ชั้นหนึ่งและชั้นสองเป็นนิทรรศการรวมศิลปิน บรรยากาศอึมครึม “Oh La la! Promises a skin-deep sensual experience.” Will it be the Libertinism movement…. ชมงาน อาจต้องเข้าใจ บริบท French libertinage ศตวรรษที่ 18 ไม่มากก็น้อย
ชั้นสี่และห้า เป็น นิทรรศการผลงานเดี่ยวของ Dr Deyn ผู้ก่อตั้งแกลเลอรี่ อาชีพหลักเป็นแพทย์ ที่หันมาเรียนศิลปะด้วยตัวเอง ชั้นสี่บรรยากาศเหมือนดิสโก้มีหมอกมีควัน ชั้นห้าโชว์ผลงานเต็ม ๆ ของ Dr Deyn ชอบฝีมือการลงสี ลงแปรง การวาดเส้นสายลายเส้น เสียดายภาพส่วนใหญ่แรงส์มาก รวมถึงหลายภาพด้านล่าง ขออนุญาตไม่โพสต์
Next stop Kathmandu Photo Gallery นิทรรศการภาพถ่ายปัญญาประดิษฐ์ Resonances of the Concealed by Napasraphee Apaiwong – นภัสรพี อภัยวงศ์ ไปถึงช้าหน่อย พี่มานิต ศรีวานิชภูมิ เจ้าของ แกลเลอรี่ และศิลปินกลับไปแล้ว เสียดายปรกติจะถ่ายรูปกับพี่มานิตทุกปี งานนี้บังเอิญเจอ ศิลปินดัง Hungary-French Franyo Aatoth ควงคู่มากับน้องกิ๊บ ทักทายชื่นมื่นดีใจ เพราะไม่เจอมาหลายปีนับตั้งแต่ฝรั่งเศส
(Photos: อิทธิพล กิจกำจาย -Itthipon Kijkamjai)
เก็บตกสุดท้าย Luka Bangkok ในซอยเดียวกันกับ Kathmandu ไปถึงมีเสียงเอะอะโครมคราม ดังมาก แอบตกใจ นึกว่ามีอะไร ที่แท้คนแข่งงัดข้อเชียร์กันเสียงดังสนั่น ครึกครื้นดี
(Photos: อิทธิพล กิจกำจาย -Itthipon Kijkamjai)
ขึ้นไปช้ัน 3 นิทรรศการ CLIMATE OF CHANGES โดยศิลปินฝรั่งเศส Thierry Facon จุดประเด็นสภาวะโลกร้อน โดยภาพเขียนหลักให้ชื่อว่า Seven Climate Sins & Four Last Things โดยบาปทั้งเจ็ด pride, greed, wrath, envy, lust, gluttony and sloth ปรับมาใช้กับเหตุโลกร้อน (ไล่ไปตามวงกลม) คือ การเกษตร การบิน รถยนตร์ ประชากรโลก อินเตอร์เนต การทำลายป่า และระบบทุนนนิยม
พาเที่ยวต่อ วันที่สองของ แกลเลอรี่ ไนท์ – Numthong Art Space, TOWNHOUSE Space, 6060 Arts Space ว่าไปตามคอนเซปต์ รอย่ำค่ำ พระอาทิตย์ใกล้ตกดิน แล้วค่อยออกสตาร์ท แกลเลอรี่ สายอารีย์-สะพานควาย-ปทุมวัน-สุขุมวิท วันนี้เลือกมาสายอารีย์ พหลโยธิน ไม่ได้มาแถวนี้หลายปี อยากมาเยี่ยมพี่นำทอง ไปแบบชิว ๆ ไม่รีบ เก็บได้ 3 แห่ง แต่ละแห่ง งานแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง 3 มุม ก็ 3 แบบ
Numthong Art Space -นำทองอาร์ตสเปซ ไปถึงมีพี่นำทอง แซ่ตั้ง เจ้าของคอยต้อนรับอบอุ่นดังเช่นเคย ที่นี่ส่งเสริมงานศิลปะร่วมสมัยของไทยให้รู้จักในระดับข้ามชาติ และสนับสนุนการศึกษา โดยเปิดห้องสมุดส่วนตัว แสดงงานศิลปะจากแคตาล็อกงานสำคัญ ๆ ที่เก็บสะสมมานานจากทั่วโลก ให้ได้ชมและศีกษา
ส่วนนิทรรศการให้ชื่อว่า Perspective by Witaya Put-Pong – มุมมอง โดย วิทยา ผุดผ่อง หนุ่มแดนใต้ศิลปินด้านภาพพิมพ์ ที่ช่วงล็อคดาวน์ หันมาสร้างสรรค์งาน drawing ในรูปแบบใหม่ ใช้พู่กัน ปากกา และเข็ม เจาะเป็นลายออกมา เป็นภาพที่ละเอียดถี่ยิบ มีทั้งวาดบนกระดาษแคนวาส และวาดลงสมุด สวยงามน่าทึ่ง แบบไม่มีใครทำมาก่อน
TOWNHOUSE ครีเอทีฟเสปซ โดยผู้อำนวยการ Rom Sangkavatana เป็นการรวมตัวศิลปินร่วม 50 คน แสดงผลงานด้านศิลปะและดีไซน์ เกี่ยวเนื่องกับชีวิตประจำวัน ที่เข้าถึงได้ง่าย มีทั้งของตกแต่งบ้าน เฟอร์นิเจอร์ เสื้อผ้า และจิปาถะ
งานนี้ปะหน้า Kristof Ghekiere หนึ่งในศิลปินชาวเบลเยี่ยมที่ร่วมแสดงผลงาน ภาพวาดสะท้อนความห่วงใยเรื่องโลกร้อน จากไฟ สู่ไฟฟ้า แม้ให้ประโยชน์ แต่ก็มีด้านลบ
สุดท้าย 6060 Arts Space นิทรรศการในชื่อ Welcome to YULALA by GIDZIM เป็น Surreal figurative paintings ล้อมนุษย์ ชาว Yulala ที่ไม่น่ารักกับโลก แนวสนุก ๆ ขำขัน คนประเภทนี้เมื่อมีปัญหาก็พร้อมอพยพย้ายไปอยู่ดาวดวงอื่น
ขอบคุณ บริการตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า MuvMi ที่ แกลเลอรี่ ไนท์ จัดให้ฟรี ตลอดการเดินทาง